การเสนอเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นการเสนอเทคนิคทางสถิติใช้ในการวิจัยโดยแบ่งตามลักษณะการใช้สถิติเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1) สถิติบรรยาย (Descriptive Statistics)
สถิติ บรรยายเป็นเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้เสนอภาพ หรือ ลักษณะการแจกแจงของตัวแปร ได้แก่ การจัดประเภท (categorization) การแจกแจงความถี่ (frequency distribution) การเสนอแผนภูมิ (charts) และ กราฟ (graphs) การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ความแปรปรวน ความเบ้ และ ความโด่ง (measures of central tendency, variability, skewness and kurtosis) ด้วยสถิติต่างๆ ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย (mean) มัธยฐาน (median) ฐานนิยม (mode) มัชฌิมเรขาคณิต (geometric mean) และมัชฌิมฮาร์โมนิค (harmonic mean) พิสัย (range) ส่วนเบี่ยงเบนควอไตล์ (quatile deviation) ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย (average deviation) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)
2) สถิติอนุมาน (Inferential Statistics)
เทคนิค การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติอนุมานที่สำคัญ คือการประมาณค่าพารามิเตอร์ (parameter estimation) และการทดสอบสมมติฐานทางสถิติ (hypothesis testing) โดยทั่วไปนักวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบแต่ละแบบมีความเหมาะสมสำหรับ การวิเคราะห์ข้อมูลแตกต่างกัน ในที่นี่จะแยกนำเสนอตามลักษณะจุดมุ่งหมายของการวิเคราะห์ และลักษณะข้อมูล โดยมิได้กล่าวถึงวิธีการ