ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methdology)
ตัวอย่าง ที่นำเสนอได้แก่ การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ การวิจัยเชิงบรรยาย/การวิจัยเชิงสัมพันธ์/การวิจัยเปรียบเทียบสาเหตุ และการวิจัยเชิงทดลอง
การออกแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเพื่อให้ได้องค์ความรู้เพื่อใช้จัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบของวิจัย
การออกแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเพื่อให้ได้องค์ความรู้เพื่อใช้จัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบของวิจัย
การวิจัยเชิงสำรวจ / วิจัยเชิงปริมาณ
วิธีดำเนินการวิจัย | การวิจัยเชิงสำรวจ |
1. วัตถุประสงค์การวิจัย | ศึกษาเหตุการณ์ สภาพต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตัวแปรที่ศึกษาไม่ถูกจัดกระทำ แต่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ |
2. ลักษณะของคำถามวิจัย | ลักษณะของตัวแปรเป็นอย่างไร? มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มประชากรอย่างไร? ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเป็นอย่างไร? |
3. ตัวอย่างคำถามวิจัย | สภาพปัญหาของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของครูระดับประถมศึกษามีอะไรบ้าง |
4. รายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย | ศึกษาเอกสาร รายงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของครูระดับประถมศึกษามีอะไรบ้าง |
5. กรอบแนวคิดการวิจัย | สถา พปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ซึ่งอาจจำแนกเป็น ปัญหาส่วนตัวของครู ปัญหาด้านความพร้อมของครู ปัญหาด้านความพร้อมของสถานศึกษา ปัญหาอันเนื่องมาจากปัจจัยอื่นๆ |
6. สมมติฐานการวิจัย | ไม่จำเป็นต้องมี |
7. ตัวแปรอิสระ | ลักษณะกลุ่มประชากรที่ศึกษา |
8. ตัวแปรตาม/ตัวแปรหลัก | สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอน |
9. ประชากร | ครูชั้น ป.1-6 |
10. ขนาดตัวอย่าง | ประชากร 400 คน |
11. วิธีการเลือกตัวอย่าง | ครู ได้รับการสุ่มแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) โดยมีสัดส่วนจากแต่ละระดับชั้นเท่ากัน หรือมีสัดส่วนที่เกิดขึ้นจริงในประชากร |
12. เครื่องมือวิจัย | แบบสอบถามวัดปัญหาในการจัดการเรียนการสอน |
13. การตรวจสอบคุณภาพ | ความตรงเชิงเนื้อหา (content validity) ความเที่ยง (reliability) |
14. การเก็บรวบรวมข้อมูล | เก็บข้อมูลด้วยตนเองหรือส่งแบบสอบถามไปทางไปรษณีย์ |
15. การวิเคราะห์ข้อมูล | สถิติภาคบรรยาย (เช่น ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความฉี่ ร้อยละ) การวิเคราะห์ตารางไขว้ กรวิเคราะห์เปรียบเทียบ |
การวิจัยเชิงคุณภาพ
วิธีดำเนินการวิจัย | การวิจัยเชิงคุณภาพ |
1. วัตถุประสงค์การวิจัย | - บรรยายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันให้เห็นภาพรวมอย่างลึกซึ้ง - บรรยายสภาพการเปลี่ยนแปลงของปรากฎการณ์ - วิเคราะห์ / เชื่อมโยงความเกี่ยวข้องระหว่างปรากฎการณ์หรือสร้างทฤาฎีฐานราก (grounded theory) บรรยายสภาพที่เกิดขึ้นในเงื่อนไขสถานการณ์ต่างๆ |
2. ลักษณะของคำถามวิจัย | - ธรรมชาติของสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร - ความรู้สึกสะท้อนของผู้เกี่ยวข้องเป็นอย่างไร - สิ่งที่เกิดขึ้นมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างไร - ปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นไปกระตุ้น / หรือทำให้เกิดปฎิกิริยาสะท้อนลักษณะใด |
3. ตัวอย่างคำถามวิจัย | - ในการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้สอนต้องปรับบทบาทอย่างไร - มีปัญหาในการปรับตัวใหม่ตามปรัชญาในการสอนแบบใหม่อย่างไร ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนเปลี่ยนไปอย่างไร ปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนเปลี่ยนแปลงเป็นแบบใด พฤติกรรมการเรียนเป็นแบบใด |
4. รายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย | ศึกษาเอกสาร รายงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง |
5. กรอบแนวคิดการวิจัย | ไม่จำเป็นต้องกำหนดกรอบความคิดของการวิจัยล่วงหน้า |
6. สมมติฐานการวิจัย | ไม่จำเป็นต้องมี |
7. ขอบข่ายข้อมูล | - ทัศนะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงบทบาทของครู - การปรับตัวของผู้สอน: วิธีการ ปัญหา และผลที่เกิดขึ้น ทั้งผลดีผลเสีย - ปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนในด้านความร่วมมือ การแข่งขัน พฤติกรรมการเรียน ความสนใจ ความตั้งใจ ความคิดริเริ่ม |
8. ผู้ให้ข้อมูลและแหล่งข้อมูล | - ผู้สอนที่มีความรู้ความสามารถสูงในการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง - ผู้เรียนที่มีประสบการณ์การเรียนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง - ปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนในด้านความร่วมมือ การแข่งขันพฤติกรรมการเรียน ความสนใจ ความตั้งใจ ความคิดริเริ่ม |
9. จำนวนผู้ให้ข้อมูล | 1-30 คน |
10. วิธีการเลือกตัวอย่าง | เลือกแบบเจาะจง |
11. เครื่องมือวิจัย | นักวิจัย แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตเอกสารรายงาน |
12. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ | ฝึก การสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การออกภาคสนาม การลงรหัส การบันทึกข้อมูล ความตรงเนื้อหา |
13. การเก็บรวบรวมข้อมูล | รวบรวมจากเอกสาร การสัมภาษณ์แบบลึก การสังเกตและจดบันทึก |
14. การวิเคราะห์ข้อมูล | การ ตั้ง ประเด็นสำหรับการวิเคราะห์เพื่อตอบคำถามวิจัย การวิเคราะห์เนื้อหา การสังเคราะห์เนื้อหา การสังเคราะห์สารสนเทศจากกรณีศึกษา การสร้างและตรวจสอบทฤษฎีฐานรากจากผลการวิเคราะห์เนื้อหา |
การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์
วิธีดำเนินการวิจัย | การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ |
1. วัตถุประสงค์การวิจัย | - บรรยายเหตุการณ์หรือปรากฎการที่เกิดขึ้นในอดีต - วิเคราะห์เชื่อมโยงความเกี่ยวข้องระหว่างปรากฎการณ์ - บรรยายสภาพการณ์และอภิปรายสรุป |
2. ลักษณะของคำถามวิจัย | มีอะไรเกิดขึ้นในอดีต อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสภาพเช่นนั้น |
3. ตัวอย่างคำถามวิจัย | อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดวิวัฒนาการของปรัชญาการศึกษาไทยที่ใช้อยู่ในอดีตจนมาเป็นแบบการเน้นผู้เรียเป็นศูนย์กลาง |
4. รายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย | ศึกษาเอกสาร รายงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง |
5. กรอบแนวคิดการวิจัย | ไม่จำเป็นต้องกำหนดกรอบความคิดของการวิจัย |
6. สมมติฐานการวิจัย | ไม่จำเป็นต้องมี |
7. ขอบข่ายข้อมูล | - สภาพการเปลี่ยนแปลงทางสังคม - ความสามารถในการแข่งขันระดับโลกที่ทำให้เกิดกระแสการปรับหลักสูตร - ปรัชญาแนวพุทธ - การเรียกร้องการประกันคุณภาพและความรับผิดชบอจากสาธารณชน |
8. ผู้ให้ข้อมูลและแหล่งข้อมูล | ผู้เชี่ยวชาญ เอกสาร หลักฐาน |
9. จำนวนผู้ให้ข้อมูล | ไม่เกิน 20 คน (ถ้าจำเป็นอาจจะมีมากกว่านี้ได้) |
10. วิธีการเลือกตัวอย่าง | เลือกแบบเจาะจง |
11. เครื่องมือวิจัย | นักวิจัย แบบบันทึก แบบสัมภาษณ์ |
12. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ | ฝึก การสัมภาษณ์ การลงรหัส การบันทึกข้อมูล ความตรงเนื้อหา การตรวจสอบเอกสาร การวิเคราะห์ภายใน ภายนอกเอกสาร การสังเคราะห์เนื้อหา และการจัดประเด็น |
13. การเก็บรวบรวมข้อมูล | รวบรวมจากเอกสาร การสัมภาษณ์แบบลึก |
14. การวิเคราะห์ข้อมูล | การ วิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) การกำหนดประเด็นการศึกษาเพื่อตอบคำถามการวิจัย การเชื่อมโยงประเด็น การสร้างแนวคิดทฤษฎีที่อธิบายเหตุการณ์หรือปรากฎการณ์ |
วิธีดำเนินการวิจัยเชิงบรรยาย / เชิงสัมพันธ์ / เชิงเปรียบเทียบ-สาเหตุ
วิธีดำเนินการวิจัย | การวิจัยเชิงบรรยาย / การวิจัยเชิงสัมพันธ์ / การวิจัยเชิงเปรียบเทียบ-สาเหตุ |
1. วัตถุประสงค์การวิจัย | ศึกษาเหตุการณ์ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ตัวแปรที่ศึกษาไม่ถูกจัดกระทำ แต่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ |
2. ลักษณะของคำถามวิจัย | ลักษณะของตัวแปรเป็นอย่างไร? ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแวปรเป็นอย่างไร? |
3. ตัวอย่างคำถามวิจัย | ปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของครูระดับประถมศึกษา |
4. รายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย | ศึกษา แนวคิดเชิงทฤษฎี/รายงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง ความสำเร็จของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอน |
5. การกำหนดกรอบความคิดวิจัย | ตัว แปรปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านครอบครัวปัจจัยด้านนักเรียนปัจจัยด้านครู ปัจจัยด้านโรงเรียน ตัวแปรตาม คือ ความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง วัดด้วยตัวแปรการมีการจัดกิจกรรมการเียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ประสิทธิผลของการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง |
6. สมมติฐานการวิจัย | ควรมี โดยมีทฤษฎีรองรับการตั้งสมมติฐานแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรปัจจัยกับตัวแปรตาม |
7. ตัวแปรอิสระ | ปัจจัยด้านครอบครัว, นักเรียน, ครู, โรงเรียน |
8. ตัวแปรตาม/ตัวแปรหลัก | ความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอน |
9. ประชากร | ครูชั้น ป.1-6 |
10. ขนาดตัวอย่าง | ประมาณ 400 คน |
11. วิธีการเลือกตัวอย่าง | ครู ได้รับการสุ่มแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) โดยมีสัดส่วนจากแต่ละระดับชั้นเท่ากัน หรือมีสัดส่วนที่เกิดขึ้นจริงในประชากร |
12. เครื่องมือวิจัย | แบบสอบถามวัดภูมิหลังของผู้ตอบ ตัวแปรอิสระทุกตัว ความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอน |
13. การตรวจสอบคุณภาพ | ความตรงเชิงเนื้อหา (content validity), ความตรงเชิงโครงสร้าง (construct validity), ความเที่ยง (reliability) |
14. การเก็บรวบรวมข้อมูล | เก็บข้อมูลด้วยตนเองหรือส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ |
15. การวิเคราะห์ข้อมูล | สถิติ ภาคบรรยาย (เช่น ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ) และสถิติประเภทสหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และสถิติขั้นสูง |
การวิจัยเชิงทดลอง
วิธีดำเนินการวิจัย | การวิจัยเชิงทดลอง |
1. วัตถุประสงค์การวิจัย | ศึกษาอิทธิพลหรือผลของตัวแปรจัดกระทำที่มีต่อตัวแปรตาม โดยมีการควบคุมตัวแปรที่ไม่เกี่ยวข้องโดยใช้แผนการทดลอง |
2. ลักษณะของคำถามวิจัย | ผลจากตัวแปรจัดกระทำที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร |
3. ตัวอย่างคำถามวิจัย | ผลของการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้น ป.6 ต่างจากการสอนแบบเดิมอย่างไร |
4. รายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย | ศึกษาแนวคิดเชิงทฤษฎี/รายงานการวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ |
5. การกำหนดกรอบความคิดวิจัย | แผน ภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนัก เรียน โดยตัวแปรอิสระที่สนใจคือวิธีการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สำหรับตัวแปรอิสระอื่นที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์และไม่สนใจศึกษาในการ วิจัยครั้งนี้ ต้องทำการควบคุม |
6. สมมติฐานการวิจัย | ควรมีและตั้งแบบมีทิศทางโดยมีทฤษฎีรองรับ |
7. ตัวแปรอิสระ | วิธีการสอนมี 2 แบบ คือแบบที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและแบบปกติ |
8. ตัวแปรตาม/ตัวแปรหลัก | ความคิดสร้างสรรค์ |
9. ประชากร | นักเรียนชั้น ป.6 |
10. ขนาดตัวอย่าง | กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละไม่น้อยกว่า 20 คน |
11. วิธีการเลือกตัวอย่าง | มี กระบวนการกำหนดกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้กระบวนการ randomization โดยมีการ random selection, random assignment, random treatment |
12. เครื่องมือวิจัย | แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ |
13. การตรวจสอบคุณภาพ | ตรวจสอบความตรางเชิงโครงสร้าง (construct validity) และความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน (internal consistency) โดยใช้สูตรของครอนบาค |
14. การเก็บรวบรวมข้อมูล | เก็บข้อมูลก่อน ระหว่าง และหลังการทดลองในพื้นที่ที่ทำวิจัย |
15. การวิเคราะห์ข้อมูล | สถิติวิเคราะห์ประเภทการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย เช่น t-test, ANOVA |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น