วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ความหมายและข้อแตกต่างระหว่างการวิจัยเชิงเชิงคุณภาพและการวิจัยปริมาณ

 

 


ความหมายและข้อแตกต่างระหว่างการวิจัยเชิงเชิงคุณภาพและการวิจัยปริมาณ
    การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)

        เป็นการวิจัยที่มุ่งหาข้อเท็จจริงและข้อสรุปเชิงปริมาณ เน้นการใช้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขเป็นหลักฐานยืนยันความถูกต้องของข้อค้นพบ และสรุปต่างๆ มีการใช้เครื่องมือที่มีความเป็นปรนัยในการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่น แบบสอบถามแบบทดสอบ การสังเกต การสัมภาษณ์ การทดลอง เป็นต้น

        การวิจัยเชิงปริมาณมีพื้นฐานแบบปรัชญาแบบปฏิฐานนิยม  (Positivism)  ในขณะที่การค้นหาความจริงด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณต้องอาศัยกระบวนการหรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่อยู่บนรากฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ และขั้นตอนที่มีระเบียบแบบแผน กรณีของการศึกษาวิจัยวิธีการเชิงปริมาณจะเริ่มต้นด้วยกฎหรือทฤษฎีก่อน  จากนั้นข้อมูลเชิงประจักษ์จะถูกรวบรวมและนำมาศึกษาวิเคราะห์ด้วยวิธีการอนุมาน และสรุปเป็นข้อค้นพบ

        การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

        เป็นการวิจัยที่นักวิจัยจะต้องลงไปศึกษาสังเกต และกลุ่มบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดทุกด้านในลักษณะเจาะลึก ใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการเป็นหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้การวิเคราะห์เชิงเหตุผลไม่ได้มุ่งเก็บเป็นตัวเลขมาทำการวิเคราะห์

        การวิจัยเชิงคุณภาพมีพื้นฐานปรัชญาแบบธรรมชาตินิยม (Naturalism) ดังนั้น การค้นหาความจริงด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพจะเน้นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามสภาพการณ์ที่เป็นธรรมชาติ  ซึ่งบางครั้งเรียกว่า แนวคิดแบบปรากฎการณ์นิยม  (Phenomenalism)  แล้วอาศัยวิธีการพรรณนาเป็นสำคัญ

        ในกระบวนการศึกษาวิจัยด้วยวิธีการเชิงคุณภาพจะเริ่มต้นด้วยข้อมูลสภาพการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาศึกษาวิเคราะห์ด้วยวิธีการอุปมาน  แล้วสรุปตีความผลการวิเคราะห์ตั้งเป็นองค์ความรู้  เป็นกฎหรือทฤษฎี

 

Cr. ความหมายและข้อแตกต่างระหว่างการวิจัยเชิงเชิงคุณภาพและการวิจัยปริมาณ

 

 

วิทยานิพนธ์ทํายังไง

 

 


วิทยานิพนธ์ทํายังไง 

    

วิทยานิพนธ์ทํายังไง

คำถาม>>

“ผมยังไม่มีความรู้ วิทยานิพนธ์ทํายังไงเลยครับ”

“ควรเริ่มยังไงดี ผมคิดว่าจะไปหาวิทยานิพนธ์ทํายังไงของคนอื่นมาอ่านๆ ดู หัวข้อ วิธีการทำ มาเป็นแนวทาง ดีเปล่าครับ”

ราชบัณฑิตยสภา กล่าวว่า วิทยานิพนธ์ ประกอบด้วยคำว่า วิทยา กับ นิพนธ์. คำว่า วิทยา ในที่นี้ใช้หมายถึง วิชาการ คือ ความรู้ที่เป็นศาสตร์ในสาขาใด ๆ ที่มีการศึกษากัน โดยเฉพาะในระดับบัณฑิตศึกษา. คำว่า นิพนธ์ แปลว่า แต่งหนังสือ. คำว่า วิทยานิพนธ์ จึงแปลว่า หนังสือที่แต่งเรื่องทางวิชาการ. ใช้เรียกผลงานของนักศึกษาระดับปริญญาโทหรือเอก ที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงความรู้ที่ค้นคว้ามาได้ใหม่ เช่น นักศึกษาระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกต้องศึกษาค้นคว้าความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง เมื่อได้ความรู้ใหม่แล้วจึงเสนอเป็นวิทยานิพนธ์เพื่อขอรับปริญญามหาบัณฑิตหรือดุษฎีบัณฑิต

วิทยานิพนธ์ในระดับโทและเอก จะแบ่งรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแตกต่างกันตามแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นผู้จัดหลักสูตรขึ้นมา ส่วนแรกจะเป็นการเรียนการสอนในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่ลงทะเบียน เช่น Research methodology พร้อมหาหัวข้อสำหรับทำวิทยานิพนธ์

ส่วนที่สองจะเป็นการทำวิทยานิพนธ์ทํายังไง จะต้องคัดเลือกสถานที่วิจัย ประชากร การกำหนดจำนวนตัวอย่างและสุ่มตัวอย่าง สถิติวิเคราะห์ที่ต้องใช้ เหตุผลที่ใช้ การพัฒนาเครื่องมือ ในการเก็บข้อมูล การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ และเหตุผลที่เลือกใช้วิธีนั้นๆ การแปลผลการวิเคราะห์ทางสถิติ  แม้กระทั้งรูปแบบตาราง สำหรับการนำเสนอผลการวิเคราะห์ นักศึกษาจะเลือกหัวข้อที่สนใจแตกต่างกัน สำหรับการนำไปใช้ทำมาหากินในอนาคตต่อไป

การเขียนวิทยานิพนธ์ (Thesis) นำผลการศึกษาและทดลองทั้งหมด ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาเรียบร้อยแล้วมาเรียบเรียงเขียนเป็นวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ ประกอบด้วยส่วนหลักสำคัญ 5 บท ได้แก่ (ข้อมูลที่นำเสนอในครั้งนี้เป็นเพียงตัวอย่างการเขียนวิทยานิพนธ์ทั่วไป ความแตกต่างขึ้นอยู่กับหลักสูตรของแต่ละมหาวิทยาลัย)

บทที่ 1 ความสำคัญของปัญหา

บทที่ 1 เขียนเริ่มจากสภาพปัญหาโดยทั่วไปโดยเป็นส่วนที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา  วัตถุประสงค์  สมมติฐาน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย  ขอบเขตของการวิจัย  ข้อจำกัดการวิจัยและนิยามศัพท์เฉพาะ ได้แก่

  1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (Statements and Significance of the Problems) กล่าวถึงที่มาของเรื่องที่จะต้องศึกษา เนื่องมาจาก สาเหตุอะไรเพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการวิจัยในเรื่องนี้
    1. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objectives) ได้แก่ ความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของการวิจัยว่าต้องการค้นหาข้อเท็จจริงในเรื่องใดบ้าง ควรระบุเป็นข้อ ๆ ให้ชัดเจน และจัดลำดับความสำคัญ
    2. สมมติฐานของการวิจัย  (Hypotheses) จะเขียนในส่วนนี้  ในกรณีที่ งานวิจัยนั้นมีสมมติฐาน เป็นการตอบคำถามล่วงหน้าจากวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ได้ตั้งไว้ โดยการอ้างอิงหลักการ  ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่ได้ศึกษามาก่อน  การตอบคำถามล่วงหน้านี้จะช่วยให้ผู้ทำวิจัยมีแนวทางในการปฏิบัติงานได้ดีและสามารถออกแบบได้อย่างเหมาะสม
    3. กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)  การประมวลความคิดรวบยอดของงานวิจัยที่แสดงความเกี่ยวข้องระหว่างตัวแปรที่ศึกษา ดังนั้นหลักสำคัญในการเขียนกรอบแนวคิด คือ จะต้องอิงแนวคิด หลักการหรือทฤษฎีที่นำมาใช้เป็นกรอบการทำวิจัย และแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา พิจารณาได้จากเนื้อหาของตัวแปรอิสระหรือตัวแปรที่ใช้ควบคุม และตัวแปรตาม ความสอดคล้องกัน แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สอดคล้องกับความสนใจของผู้วิจัย
    4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (Contribution to Knowledge) เป็นการบอกให้ทราบว่าความรู้ที่ได้จากการวิจัย สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง อาจจะเป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญในการปฏิบัติงาน หรือสร้างองค์ความรู้ในสาขาวิชาที่วิจัย
    5. ขอบเขตของการวิจัย (Scope of Study) เป็นการระบุว่าการวิจัยนั้นจะ ครอบคลุมเนื้อหาอะไร ประชากรที่ต้องการอ้างอิงผลการวิจัย ระยะเวลาการเก็บรวบรวมข้อมูลและตัวแปรที่วิจัย
    6. นิยามศัพท์เฉพาะ (Definition of Terms) ได้แก่ การกำหนดความหมายคำในเชิงปฏิบัติการ (Operational Definitions) ที่ใช้ในการวิจัย

บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

          บทที่ 2 เขียนจากสาระความรู้ที่เราได้ไปศึกษาค้นคว้ามา จากแหล่งความรู้ต่างๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับงานวิจัยของเรา (วิเคราะห์จากคำสำคัญ ตามชื่อวิทยานิพนธ์ของเราเป็นหลัก) รวมทั้งการเขียนให้เชื่อมโยงกับแนวคิด ทฤษฎี และการอ้างอิงงานวิจัยของผู้อื่นที่นำมาประกอบ ต้องเขียนให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกันอย่างกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน เป็นภาษาของเราเอง(ไม่เป็นการคัดลอก ตัดต่อข้อความของผู้อื่นมาเขียนติดต่อกัน หรือยกมาเขียนหมดทั้งตอน) ซึ่งเนื้อหาส่วนนี้จะให้ข้อมูลที่เป็นทฤษฎีแนวคิด หรือความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ทำวิจัยและกล่าวถึงงานวิจัยที่เคยมีผู้ทำไว้เพื่อสนับสนุนการวิจัย

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

          เขียนอธิบาย วิธีดำเนินการวิจัยของเราทุกขั้นตอนเรียงตามลำดับ ตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งเนื้อหาส่วนนี้อธิบายวิธีดำเนินการวิจัยอย่างละเอียดตั้งแต่  วิธีที่ใช้ศึกษา  ลักษณะประชากร การเลือกกลุ่มตัวอย่าง การเลือกเครื่องมือและวิธีการ ความถูกต้องและเชื่อถือได้ของเครื่องมือ วิธีการรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 4 ผลการวิจัย

          บทที่ 4 เขียนผลการวิจัย ตามลำดับของการดำเนินงานทดลองในบทที่ 3 ตามผลที่ปรากฏและเขียนอธิบายผลตามข้อเท็จจริงเป็นการรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดโดยละเอียดอาจนำเสนอด้วยการบรรยายหรือนำเสนอในรูปตาราง กราฟ ภาพ เพื่อให้การตีความหมายข้อมูลชัดเจนยิ่งขึ้น(อาจนำเสนอทั้งในรูปแบบตาราง กราฟ สถิติ และบรรยาย)

บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

          บทที่ 5 เขียนสรุปผลการวิจัย จากบทที่ 4 และเขียนอภิปรายผลการวิจัยอย่างเป็นเหตุเป็นผล โดยอาศัยทั้งภูมิรู้ของผู้วิจัย ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาจากแหล่งความรู้ต่างที่ได้เขียนไว้แล้วในบทที่ 2 รวมทั้งองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นหลังจากที่เราได้ทำการวิจัยสิ้นสุดลงซึ่งอาจจะได้ผลสรุปที่สอดคล้องกับผลงานวิจัยของผู้อื่นที่ได้ทำการศึกษามาก่อนนี้แล้วนำมาประกอบการเขียนอภิปรายผลอย่างมีน้ำหนักให้งานวิจัยของเราเกิดความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการยิ่งขึ้น การเขียนอภิปรายผลจึงเป็นเสมือน ดัชนีชี้วัดความรู้ ความสามารถ และความแตกฉานในงานวิจัยของผู้ที่ได้ศึกษาค้นคว้า ว่ามีความลึกซึ้งมากน้อยเพียงใดกับงานวิจัยของตนเอง รวมทั้ง สามารถให้แนวคิด หรือข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการทำวิจัยอื่นๆ ในอนาคตได้อย่างเหมาะสมต่อไป ซึ่งเป็นการอภิปรายผลที่ในส่วนนี้ผู้วิจัยจะต้องนำประเด็นสำคัญของผลการศึกษามาอภิปรายว่าผลที่ค้นพบ สนับสนุนหรือ  ขัดแย้งกับทฤษฎีหรือตรงกับการศึกษาของผู้อื่นหรือไม่อย่างไร  หรือที่ได้กล่าวไว้ในวรรณกรรมประการใด โดยอ้างอิงทฤษฎี แนวคิดและผลการวิจัยของผู้อื่น หรือข้อมูลประกอบเพื่อยืนยันผลที่ได้รับจากการวิจัยของผู้วิจัย มีการค้นพบใหม่เกิดขึ้นหรือไม่ เมื่ออภิปรายผลจบแล้ว ให้ผู้วิจัยสรุปผลการวิจัยเฉพาะประเด็นสำคัญในดุษฎีนิพนธ์ทั้งหมด

สุดท้ายการจะสำเร็จการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาได้นั้น จะต้องนำเสนอผลงานโดยโปสเตอร์ นำเสนอปากเปล่าและการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ นานาชาติ ด้วย แต่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการจบของหลักสูตรแตกต่างกันไป

#วิทยานิพนธ์ทํายังไง 

Cr.วิทยานิพนธ์ทํายังไง 

 

สารนิพนธ์ ต่างจาก วิทยานิพนธ์ อย่างไร

 

 

สารนิพนธ์ ต่างจาก วิทยานิพนธ์ อย่างไร

  


  

วิทยานิพนธ์ (เข้มข้น) คือ

    งานวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยระดับอุดมศึกษา อันเป็นผลงานจากการค้นคว้าวิจัย เป็นงานเขียนวิชาการที่นักศึกษาทุกคนโดยเฉพาะในระดับปริญญาโทและเอกต้องจัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการจบการศึกษา รับปริญญา เพื่อเป็นเกียรติคุณและ เป็นไปเบิกทางในสายอาชีพต่างๆ ที่ตนเองสนใจในอนาคต

สารนิพนธ์ คือ

    การค้นคว้าอิสระ (Independent Study) หมายถึง การศึกษาวิจัยอิสระ โดยอาศัยการกลั่นกรองความรู้และสาระในเนื้อหาต่างๆ ที่มีผู้ศึกษาวิจัยไว้แล้ว การค้นคว้าอิสระที่ได้มาจากการอ่าน การรวบรวมวิเคราะห์ของผู้เขียนแล้วนำมาสรุปผลให้เป็นเรื่องเดียวกัน

    สารนิพนธ์ต่างจากวิทยานิพนธ์ ในเรื่องของแนวคิด (concept) หรือตัวแปร (variable) ตัวเดียว ใช้สถิติหรือการวิเคราะห์อย่างง่าย และจำกัดบริบทที่ศึกษา ระยะเวลาที่ชัดเจน แต่จะไม่เข้มข้นเรื่องคุณภาพของความถูกต้อง (validity) และความเชื่อมั่น (reliability มากกว่า) เท่ากับทางด้านวิทยานิพนธ์ ดังนั้นการตัดสินใจเลือกว่า จะทำสารนิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท

     มีปัจจัยสำคัญในการเลือกสารนิพนธ์ ข้อดีคือ ไม่ยุ่งยาก เป็นการเรียนการสอนของหลักสูตร แต่ข้อเสียคือนักศึกษาไม่มีประสบการณ์เต็มที่ในการเขียนงานวิจัย อาจจะไม่สามารถใช้ในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไป หรืออาจจะมีปัญหาไม่ได้รับการยอมรับ เมื่อเราทำหน้าที่ทางวิชาการ เช่น อาจารย์ ครู ในทางตรงกันข้ามกับการเลือกทำวิทยานิพนธ์มีข้อดีคือทำให้นักศึกษามีความรู้ เป็นที่ยอมรับทางวิชาการ และมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่ตั้งมาตรฐานการสอบคัดเลือก แต่จะใช้ระยะเวลาสำหรับการศึกษาเกินกว่าหลักสูตรกำหนดเป็นปกติ

    การทำงานวิจัยนักศึกษาต้องตั้งโจทย์หรือคำถามการวิจัย (research question) ให้ถูกต้องเหมาะสม ควรเป็นคำถามที่เฉพาะเจาะจง เพราะคือการหาคำตอบจากคำถามการวิจัยให้ครบถ้วน ถ้าตั้งคำถามไม่ชัดเจนหรือมากเกินไป คำตอบก็ไม่ชัดเจนหรือไม่ถูกต้องเช่นกัน ส่วนเครื่องมือเก็บข้อมูลการวิจัย แบ่งง่ายๆ เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามซึ่งก็คือมาตรประมาณค่า (rating scale) และเครื่องมือเก็บเครื่องมือเชิงคุณภาพ ส่วนใหญ่เป็นแบบสัมภาษณ์ (interview form)

หลักการเขียนโครงการสารนิพนธ์ (สารนิพนธ์ ต่างจาก วิทยานิพนธ์ อย่างไร)

ส่วนแรกจะเป็นการเขียนการคัดเลือกชื่อเรื่อง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งชื่อเรื่องต้องใช้คำกะทัดรัด ชัดเจน ไม่คลุมเครือ และชื่อเรื่องควรสะท้อนหรือชี้ถึงประเด็นปัญหาของการวิจัย

การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา เป็นส่วนของการชี้ให้เห็นที่มาของประเด็นปัญหาหรือข้อคำถามที่จะทำการศึกษาหาคำตอบ ชี้ให้เห็นว่ามีผู้เสนอแนวคิดหรือทฤษฎีสำหรับตอบคำถามนั้นอย่างไร

    – การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย คือ ส่วนของการวางเป้าหมายที่จะทำการวิจัยไว้ล่วงหน้า กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน การเขียนใช้ภาษาชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่วกวน ชัดเจน ใช้ประโยคบอกเล่า ไม่ใช่ประโยคคำถามและปฏิเสธ

    – การเขียนขอบเขตการวิจัย คือ ส่วนของการเขียนระบุว่าพื้นที่ อาณาเขตของงานวิจัยเรื่องนั้นๆ จะศึกษาภายในขอบเขตกว้างแคบแค่ไหนเพียงไร เกณฑ์มาตรฐานการเขียนระบุขอบเขตประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่จะใช้ในการศึกษาให้ชัดเจน ระบุขอบเขตตัวแปรในการวิจัย ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามที่จำเป็นจะต้องใช้ในการทำงานวิจัย

    – กรอบแนวคิดในการวิจัย คือ ส่วนของการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานการเขียนตัวแปรแต่ละตัวที่เลือกศึกษา ต้องมีพื้นฐานเชิงทฤษฎีว่า มีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการศึกษา ตรงประเด็นในด้านเนื้อหาสาระ รูปแบบสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย โดยการเขียนปัญหาที่ต้องการทราบหรือต้องการตอบ คือการเขียนระบุลงไปให้ชัดเจนว่างานวิจัยเรื่องนั้นต้องการตอบปัญหาอะไรเรื่องนั้น

    – สมมติฐานการวิจัย คือ ส่วนของการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานการเขียนเป็นคำตอบปัญหาการวิจัยล่วงหน้าที่ผู้วิจัยคาดคะเนว่าจะเป็นอย่างนั้นและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เป็นคำตอบล่วงหน้าที่สอดคล้องกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม เป็นสมมติฐานที่ตั้งขึ้นจากหลักฐานข้อมูลเบื้องต้นและจากแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องซึ่งจะปรากฎในบทถัดไป

    – นิยามศัพท์เฉพาะ คือ ส่วนที่ใช้ในการบอกกล่าว เกณฑ์มาตรฐานการเขียนศัพท์ที่จะนิยามต้องใช้ในความหมายเฉพาะเจาะจงหรือความหมายพิเศษเท่านั้น ศัพท์ที่จะนิยามควรเป็นคำหลัก (Keyword) ของงานวิจัยเท่านั้น และต้องนิยามให้ครอบคลุม กำหนดเฉพาะความหมาย ขอบเขตของพื้นที่ที่ผู้วิจัยใช้ในการดำเนินงานวิจัย

– การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง คือ ส่วนที่จะทบทวนข้อมูลทุกหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับสารนิพนธ์ จะนำมาทบทวนต้องมีเนื้อหาหรือมีประเด็นการศึกษาเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะดำเนินการศึกษา เอกสารและงานวิจัยที่จะนำมาทบทวนควรมีมาตรฐานทางวิชาการ การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนำมาบรรยายให้เห็นข้อมูลพัฒนาการขององค์ความรู้ด้านนั้น ๆ

– วิธีดำเนินการวิจัย คือ ส่วนของการกำหนดการชี้แจงรายละเอียดว่า เวลาลงมือทำวิจัยในแต่ละหัวข้อ เราจะมีข้อมูล วิธีการ และขั้นตอนการเก็บหลักฐานข้อมูลสำหรับปัญหาการวิจัยอย่างไร จะใช้เครื่องมืออะไรเก็บข้อมูล เช่น แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การสนทนากลุ่ม หรือสถิติแบบใดบ้าง

– ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือ ส่วนของการเขียนคาดการณ์ล่วงหน้าว่า เมื่อการทำงานวิจัยเรื่องนั้นๆ สำเร็จแล้วจะมีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นบ้าง กับหน่วยงานใด องค์กร ชุมชนใดบ้าง

บทที่ 4. ผลการวิจัย (Results) เป็นการรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดโดยละเอียดอาจนำเสนอด้วยการบรรยายหรือนำเสนอในรูปตาราง กราฟ ภาพ เพื่อให้การตีความหมายข้อมูลชัดเจนยิ่งขึ้น

บทที่ 5. อภิปรายและสรุปผล (Discussion and Conclusion) หรือสรุปและอภิปรายผล (Conclusion and Discussion)  การอภิปรายผลในส่วนนี้ผู้วิจัยจะต้องนำประเด็นสำคัญของผลการศึกษามาอภิปรายว่าผลที่ค้นพบ สนับสนุนหรือ  ขัดแย้งกับทฤษฎีหรือตรงกับการศึกษาของผู้อื่นหรือไม่อย่างไร  หรือที่ได้กล่าวไว้ในวรรณกรรมประการใด โดยอ้างอิงทฤษฎี แนวคิดและผลการวิจัยของผู้อื่น หรือข้อมูลประกอบเพื่อยืนยันผลที่ได้รับจากการวิจัยของผู้วิจัย มีการค้นพบใหม่เกิดขึ้นหรือไม่ เมื่ออภิปรายผลจบแล้ว ให้ผู้วิจัยสรุปผลการวิจัยเฉพาะประเด็นสำคัญในดุษฎีนิพนธ์ทั้งหมด

บรรณานุกรม คือ ส่วนของรายการเอกสารต่าง ๆ ที่นำมาใช้อ้างอิงหรือประกอบศึกษาค้นคว้าในงานวิจัยแต่ละเรื่อง จะกำหนดเป็นมาตรฐานต่างๆ ขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบันกำหนดไว้ เช่น APA

ประวัติผู้วิจัย เป็นส่วนข้อมูลที่แสดงให้ทราบถึงภูมิหลังด้านการศึกษา มีประสบการณ์ มีผลงานทางวิชาการ และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ที่สอดคล้องกับเรื่องที่จะทำการศึกษาหรือไม่อย่างไร ซึ่งไม่แปลกสำหรับสถานะนักศึกษานิสิตที่จะมีเพียงข้อมูลเบื้องต้น

การเขียนสารบัญชั่วคราว เป็นการวางโครงสร้างเนื้อหาของงานวิจัยให้เห็นว่าในแต่ละบทมีประเด็นที่จะศึกษาอย่างไรบ้าง

เชิงอรรถ (Footnote) คือ การทำรายการเอกสารอ้างอิงหรือคำอธิบายเพิ่มเติมที่อยู่ด้านล่างของข้อความในหน้ากระดาษแต่ละหน้า

สรุป สารนิพนธ์ ต่างจาก วิทยานิพนธ์ อย่างไรนั้น หลักการของสารนิพนธ์สารนิพนธ์ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกันต้องมีคุณภาพและมาตรฐานทางวิชาการเช่นเดียวกัน การจัดกระบวนการเรียนรู้ของรายวิชา สารนิพนธ์ ในหลักสูตรต่างๆ อาจมีความแตกต่างกันได้ แต่ต้องมุ่งให้บรรลุวัตถุประสงค์ ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

Cr. สารนิพนธ์ ต่างจาก วิทยานิพนธ์ อย่างไร

การตรวจสอบสามเส้า (triangulation) ทำอย่างไร

 

 

วิธีการตรวจสอบสามเส้า (triangulation)

วิธีการตรวจสอบสามเส้า คืออะไร

            จากผู้วิจัยหรืออาจารย์สอนในระดับ ป.โท ป.เอก มักอ้าง วิธีการตรวจสอบสามเส้า (triangulation) คำว่า “การตรวจสอบสามเส้า” ตลอดเวลา หลัก 3 ประการของการตรวจสอบคุณภาพงานวิจัย และใช้เฉพาะการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี้

            Triangulation หมายถึง การเปรียบเทียบข้อค้นพบ (Finding) ของปรากฏการณ์ที่ทำการศึกษา (Phenomenon) จากแหล่งและมุมมองที่แตกต่างกัน นักวิจัยจำนวนมากคาดหมายว่า Triangulation เป็นแนวทางการยืนยันความน่าเชื่อถือ (Credibility, validity) ของข้อมูลหรือสิ่งที่ค้นพบ

            ข้อเท็จจริง คือ การตรวจสอบสามเส้า (triangulation) เป็นการใช้ระเบียบวิธีการวิจัยหลายอย่างในการศึกษาปรากฏการณ์เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีสามข้อ มีมากกว่านี้ก็ได้ เช่น ระเบียบวิธีวิจัย (research method triangulation), ทฤษฎี (theoretical triangulation), ผู้วิจัย (researcher triangulation), ข้อมูล (data triangulation)

            การตรวจสอบสามเส้า (triangulation) นำมาใช้ในการตรวจสอบคุณภาพงานวิจัยทั้ง การวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) และ การวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ในการศึกษาเชิงปริมาณ (quantitative) เป็นการตรวจสอบความถูกต้อง (validation) การศึกษาเชิงคุณภาพเป็นการการหาคำตอบ เป็นกลยุทธการใช้วิธีการที่เหมาะสมเพื่อหาความน่าเชื่อถือ (credibility) ของการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เป็น วิธีการทางเลือกของเกณฑ์พิจารณาปกติ เช่น ความเที่ยงตรง (reliability) และ ความถูกต้อง (validity)

            

 


 

    การตรวจสอบสามเส้า (triangulation) ในการศึกษาเชิงคุณภาพ เป็นกระบวนการที่ถูกนำมาใช้ในการสังคมศาสตร์ ด้วย การรวบรวมวิธีการใช้ผู้สังเกต (observer) ทฤษฎี (theory) วิธีการ (methods) และ ข้อมูลเชิงประจักษ์ (empirical material) ที่ซ้ำซ้อนกัน นักวิจัยหวังว่า จะขจัดจุดด้อย หรือ ความลำเอียงภายในและปัญหาที่เกิดจากการใช้วิธีการอย่างเดียวและการใช้ทฤษฎีเดียวในการศึกษา

รูปแบบของ Triangulation มี 7 รูปแบบได้แก่

            1. Data Triangulation การเปรียบเทียบและตรวจสอบความแน่นอนของข้อมูลโดยนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบ

            2. Multiple Investigator Triangulation การใช้นักวิจัยหลายคนในสนามแทนการใช้นักวิจัยเพียงคนเดียว

            3. Multiple Analyst Triangulation การใช้ผู้วิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บจากสนามมากกว่า 2 คนขึ้นไป  

            4. Reviews Triangulation การให้บุคคลต่าง ๆ ที่ไม่ใช่นักวิจัยทำการทบทวนข้อค้นพบจากการวิเคราะห์

            5. Methods Triangulation การเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้มาจากการเก็บข้อมูลหลายวิธีการ

            6. Theory Triangulation การใช้มุมมองของทฤษฎีต่าง ๆ มาพิจารณาข้อมูลชุดเดียวกัน

            7. Interdisciplinary Triangulation การใช้สหวิทยา การมาร่วมวาทกรรม อธิบายข้อค้นพบต่างๆ

 Cr.   การตรวจสอบสามเส้า (triangulation) ทำอย่างไร

ปัญหาในการวิจัย (research problem)

 

ปัญหาในการวิจัย (research problem)

    ก่อนเริ่มทำงานวิจัย เราต้องรู้ ปัญหาในการวิจัย (Research problem) เพราะฉะนั้นเรามาดูปัญหาในการวิจัยกันก่อน หมายถึงอะไร ปัญหาในการวิจัย หมายถึง สิ่งที่เกิดจากความสงสัยใคร่รู้คำตอบเปรียบเสมือนเป็นคำถามของการทำวิจัยเรื่องนั้นว่าเราต้องการหาคำตอบ อะไรคือการทำวิจัยในประเด็นใด จะหาความจริงจากการวิจัยหรือจากเรื่องนั้นได้อย่างไร 


 

    อันนี้คือความหมายของ Research Problems ที่จะทำวิจัยตัวผู้วิจัยจึงมีแหล่งปัญหาที่จะทำวิจัยยังไงก็คือ จากประสบการณ์ จากความสนใจและจากการสังเกต จากการศึกษาทฤษฎีวรรณกรรมในสาขาที่เกี่ยวคือการทบทวนงานวิจัยที่เราต้องการที่จะศึกษาหรือที่เกี่ยวข้องกับงานของเราที่เราคิดไว้ แล้วก็ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ต่อไปก็คือ ผู้นำทางวิชาการ แหล่งทุนอุดหนุนการวิจัยผู้นำทางวิชาการก็คือเราต้องหาผู้นำทางวิชาการที่สามารถให้คำแนะนำ ในการที่จะพาเราไปสู่การคิดค้นการทำวิจัยได้แต่ก็แหล่งทุนทุนอุดหนุนการวิจัยซึ่งข้อนี้ก็ทุกท่านที่ทำวิจัยก็สามารถมองหาตรงนี้ ต่อไป ก็คือหน่วยงานที่ผู้วิจัยทำงานหรือการจะคิดปัญหาที่จะทำวิจัยสัมพันธ์กับหน่วยงานที่ตั้งใจทำงานก็คือเราจะคิดถึงใกล้ตัว ในแต่ละสาขาที่เราทำวิจัยเนี่ยเราก็ต้องมีความเชี่ยวชาญในที่ทำงานใช่ไหมคะแล้วเราจะเอาประสบการณ์ตรงนั้น ที่เราได้จากการสังเกตการเก็บข้อมูลมาสร้าง ในการทำวิจัยก็ได้ ในสร้างปัญหาหรือเราจะมองหาจากข่าวในสื่อมวลชน มาจากข้อเสนอแนะของผลการวิจัยที่ทำมาแล้วนึกได้มาจากการรีวิวหรือการทบทวนวรรณกรรมของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับในความสนใจของงานที่เราจะทำ ปัญหาที่ได้จากผู้อื่นก็อาจจะเป็นเราได้ discuz หรือเราได้พูดคุย กับอาจารย์ที่ปรึกษาหรือได้พูดคุยกับเพื่อนในหน่วยงานที่เราทำงาน เราก็สามารถหาปัญหาการทำวิจัยมาได้ จากผู้อื่นหรืออาจจะมีวิธีอีกหลายวิธีที่จะเป็นที่มาของปัญหาและการทำวิจัย ต่อไปลักษณะของการเขียนปัญหาการวิจัยก็คืออยู่ในรูปแบบประโยคคำถาม และไม่กำกวมสำหรับการแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งหมดในงานวิจัยของเรา สามารถตรวจสอบได้ 

    เช่นตัวอย่างการเขียนรายงานการวิจัยนี้ ปัญหาการวิจัยชื่อเรื่องหัวข้อการวิจัยอย่างเช่นเพศมีความเกี่ยวข้องกับความสามารถในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษหรือไม่เป็นปัญหาการวิจัยชื่อหัวข้อการวิจัยแต่ก็ควรจะตั้งว่าการศึกษาความสามารถในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักศึกษาชายและหญิงในมหาวิทยาลัยมีเพศอยู่ใช่ไหมคะมีวิชาภาษาอังกฤษที่เราสนใจ เป็นตัวแปรที่ใช้ในการทำวิจัย อันนี้ก็คือตัวอย่างในการตั้งชื่อหัวข้อการวิจัยและปัญหาการวิจัย ประโยชน์ของปัญหาการวิจัยที่ชัดเจนถ้าเรามองเห็น ก็คือตั้งชื่อเรื่องการวิจัยหัวข้อการวิจัยได้ กำหนดวัตถุประสงค์ ออกแบบวางแผนการวิจัย การตั้งชื่อเรื่องหรือโครงการวิจัยจะต้องสอดคล้องและเกื้อกับปัญหาที่จะวิจัยชัดเจนนะที่เฉพาะปัญหาที่จะศึกษาควรขึ้นต้นชื่อเรื่องด้วยความสำคัญของปัญหาใช้ภาษาไม่กำกวม ใช้ภาษาที่กระชับและแทนใจความของปัญหาทั้งหมดได้ ตั้งก่อนหรือหลังก็ได้ เพราะฉะนั้นการที่ตั้งชื่อเรื่องโครงการวิจัยต่างๆ ในงานวิจัยของเราเนี่ยก็จะมีลักษณะดังที่กล่าวมา

Cr.ปัญหาในการวิจัย (research problem)

เขียนทบทวนวรรณกรรมยังไง


 

ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และการเรียบเรียงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

เป็นส่วนถัดจากบทนำ ซึ่งเชื่อมโยงหัวข้อหลักการและเหตุผล ในแบบเสนอโครงการ จะกล่าวถึง การจะทำโครงการวิจัยนี้ จะต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องใดบ้าง โดยอธิบายถึงความรู้นั้นๆ ถึงลักษณะสำคัญ และเชื่อมโยงให้ได้ว่ามีความจำเป็นต่อหัวข้อวิจัยอย่างไร

การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (related literature)

            หมายถึง  เอกสารงานเขียนที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับหัวเรื่อง/

ชื่อเรื่องการวิจัย ที่ผู้วิจัยสนใจ

            วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอาจมีหลายลักษณะ ได้แก่

             ตำรา                

              รายงานประจำปี            

              บทความในวารสาร

              ดัชนี

             พจนานุกรม

              รายงานสถิติ

              จุลสาร

 

วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรม

q  อาจเป็นงานวิจัย รายงาน บทความ  ตำราวิชาการ

q  ช่วยหาประเด็นทำวิจัย   แนวคิด  กรอบแนวคิดในการวิเคราะห์

q  ป้องกันการทำวิจัยซ้ำซ้อน เรื่องที่ได้มีการทำมาแล้ว

q  ช่วยชี้พรมแดนความรู้  วิจัยที่จะทำเป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน  แง่ใดบ้าง

     ทำให้เกิดแนวคิดที่มีทิศทาง

q  พัฒนาความคิดภายใน  เพื่อออกแบบการศึกษาวิจัย

 

ประเภทการทบทวนวรรณกรรม

q    ทบทวนเชิงศึกษาด้วยตนเอง  เพื่อเพิ่มความรู้

q    เชิงเนื้อหาสาระ ให้เห็นภาพกว้าง

q    เชิงประวิติศาสตร์ แสดงการพัฒนาประเด็นที่ทำวิจัย

q    เชิงทฤษฎี เพื่อเปรียบเทียบกับประเด็นปัญหาที่ทำวิจัย

q    เชิงวิธีการศึกษา งานแต่ละชิ้นมีวิธีการอย่างไร

q    เพื่อสรุปว่า ขณะหนึ่งขณะใดมีอะไรบ้างที่รู้กันแล้ว

 

ประโยชน์ในการทบทวนวรรณกรรม

q  ชี้จุดแข็งจุดอ่อนงานวิจัยอื่นๆ  ทั้งเชิงทฤษฎี, เชิงประจักษ์

q   ช่วยบ่งชี้ทฤษฏีที่นำมาใช้ หรือ ทดสอบ

q    เสนอแนะวิธีการที่จะใช้ในการศึกษา

q    อธิบายเทคนิคการเก็บข้อมูล  และ เครื่องมือที่ใช้

q    มีเทคนิคในการแบ่งประเภท จำแนกข้อมูล

q    ชี้แนะการทำตาราง  สถิติ  กราฟ

q    แสดงวิธีตีความผลการวิจัย

q    เกิดความคิดในปัญหาที่จะทำวิจัย

q    แสดงวิธีการเสนองานวิจัยที่เสร็จสมบูรณ์

q    เสนอแนะแหล่งสำหรับพิมพ์ผลงานวิจัย

 

ประเด็นสำคัญ ๆ จากการทบทวนวรรณกรรม

q  ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ปีที่เขียน(ข้อมูลควรครบถ้วนเพื่อเขียนอ้างอิง)

q  ปัญหาในการวิจัย หรือ  วัตถุประสงค์การวิจัย

q  วิธีการศึกษา

q  ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา

q  ข้อมูลที่ใช้ และ วิธีการเก็บข้อมูล

q  การวิเคราะห์ข้อมูล

q  ผลการวิจัย  (ข้อค้นพบ)

q  ข้อสรุป   เสนอแนะ

 

Cr.เขียนทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือ บทที่ 2

วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2563

เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative data analysis)

 

 
การเสนอเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นการเสนอเทคนิคทางสถิติใช้ในการวิจัยโดยแบ่งตามลักษณะการใช้สถิติเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1) สถิติบรรยาย (Descriptive Statistics)
       สถิติ บรรยายเป็นเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้เสนอภาพ หรือ ลักษณะการแจกแจงของตัวแปร ได้แก่ การจัดประเภท (categorization) การแจกแจงความถี่ (frequency distribution) การเสนอแผนภูมิ (charts) และ กราฟ (graphs) การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ความแปรปรวน ความเบ้ และ ความโด่ง (measures of central tendency, variability, skewness and kurtosis) ด้วยสถิติต่างๆ ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย (mean) มัธยฐาน (median) ฐานนิยม (mode) มัชฌิมเรขาคณิต (geometric mean) และมัชฌิมฮาร์โมนิค (harmonic mean) พิสัย (range) ส่วนเบี่ยงเบนควอไตล์ (quatile deviation) ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย (average deviation) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)

2) สถิติอนุมาน (Inferential Statistics)
       เทคนิค การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติอนุมานที่สำคัญ คือการประมาณค่าพารามิเตอร์ (parameter estimation) และการทดสอบสมมติฐานทางสถิติ (hypothesis testing) โดยทั่วไปนักวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบแต่ละแบบมีความเหมาะสมสำหรับ การวิเคราะห์ข้อมูลแตกต่างกัน ในที่นี่จะแยกนำเสนอตามลักษณะจุดมุ่งหมายของการวิเคราะห์ และลักษณะข้อมูล โดยมิได้กล่าวถึงวิธีการ