วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

วิทยานิพนธ์ทํายังไง

 

 


วิทยานิพนธ์ทํายังไง 

    

วิทยานิพนธ์ทํายังไง

คำถาม>>

“ผมยังไม่มีความรู้ วิทยานิพนธ์ทํายังไงเลยครับ”

“ควรเริ่มยังไงดี ผมคิดว่าจะไปหาวิทยานิพนธ์ทํายังไงของคนอื่นมาอ่านๆ ดู หัวข้อ วิธีการทำ มาเป็นแนวทาง ดีเปล่าครับ”

ราชบัณฑิตยสภา กล่าวว่า วิทยานิพนธ์ ประกอบด้วยคำว่า วิทยา กับ นิพนธ์. คำว่า วิทยา ในที่นี้ใช้หมายถึง วิชาการ คือ ความรู้ที่เป็นศาสตร์ในสาขาใด ๆ ที่มีการศึกษากัน โดยเฉพาะในระดับบัณฑิตศึกษา. คำว่า นิพนธ์ แปลว่า แต่งหนังสือ. คำว่า วิทยานิพนธ์ จึงแปลว่า หนังสือที่แต่งเรื่องทางวิชาการ. ใช้เรียกผลงานของนักศึกษาระดับปริญญาโทหรือเอก ที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงความรู้ที่ค้นคว้ามาได้ใหม่ เช่น นักศึกษาระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกต้องศึกษาค้นคว้าความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง เมื่อได้ความรู้ใหม่แล้วจึงเสนอเป็นวิทยานิพนธ์เพื่อขอรับปริญญามหาบัณฑิตหรือดุษฎีบัณฑิต

วิทยานิพนธ์ในระดับโทและเอก จะแบ่งรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแตกต่างกันตามแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นผู้จัดหลักสูตรขึ้นมา ส่วนแรกจะเป็นการเรียนการสอนในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่ลงทะเบียน เช่น Research methodology พร้อมหาหัวข้อสำหรับทำวิทยานิพนธ์

ส่วนที่สองจะเป็นการทำวิทยานิพนธ์ทํายังไง จะต้องคัดเลือกสถานที่วิจัย ประชากร การกำหนดจำนวนตัวอย่างและสุ่มตัวอย่าง สถิติวิเคราะห์ที่ต้องใช้ เหตุผลที่ใช้ การพัฒนาเครื่องมือ ในการเก็บข้อมูล การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ และเหตุผลที่เลือกใช้วิธีนั้นๆ การแปลผลการวิเคราะห์ทางสถิติ  แม้กระทั้งรูปแบบตาราง สำหรับการนำเสนอผลการวิเคราะห์ นักศึกษาจะเลือกหัวข้อที่สนใจแตกต่างกัน สำหรับการนำไปใช้ทำมาหากินในอนาคตต่อไป

การเขียนวิทยานิพนธ์ (Thesis) นำผลการศึกษาและทดลองทั้งหมด ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาเรียบร้อยแล้วมาเรียบเรียงเขียนเป็นวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ ประกอบด้วยส่วนหลักสำคัญ 5 บท ได้แก่ (ข้อมูลที่นำเสนอในครั้งนี้เป็นเพียงตัวอย่างการเขียนวิทยานิพนธ์ทั่วไป ความแตกต่างขึ้นอยู่กับหลักสูตรของแต่ละมหาวิทยาลัย)

บทที่ 1 ความสำคัญของปัญหา

บทที่ 1 เขียนเริ่มจากสภาพปัญหาโดยทั่วไปโดยเป็นส่วนที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา  วัตถุประสงค์  สมมติฐาน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย  ขอบเขตของการวิจัย  ข้อจำกัดการวิจัยและนิยามศัพท์เฉพาะ ได้แก่

  1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (Statements and Significance of the Problems) กล่าวถึงที่มาของเรื่องที่จะต้องศึกษา เนื่องมาจาก สาเหตุอะไรเพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการวิจัยในเรื่องนี้
    1. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objectives) ได้แก่ ความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของการวิจัยว่าต้องการค้นหาข้อเท็จจริงในเรื่องใดบ้าง ควรระบุเป็นข้อ ๆ ให้ชัดเจน และจัดลำดับความสำคัญ
    2. สมมติฐานของการวิจัย  (Hypotheses) จะเขียนในส่วนนี้  ในกรณีที่ งานวิจัยนั้นมีสมมติฐาน เป็นการตอบคำถามล่วงหน้าจากวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ได้ตั้งไว้ โดยการอ้างอิงหลักการ  ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่ได้ศึกษามาก่อน  การตอบคำถามล่วงหน้านี้จะช่วยให้ผู้ทำวิจัยมีแนวทางในการปฏิบัติงานได้ดีและสามารถออกแบบได้อย่างเหมาะสม
    3. กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)  การประมวลความคิดรวบยอดของงานวิจัยที่แสดงความเกี่ยวข้องระหว่างตัวแปรที่ศึกษา ดังนั้นหลักสำคัญในการเขียนกรอบแนวคิด คือ จะต้องอิงแนวคิด หลักการหรือทฤษฎีที่นำมาใช้เป็นกรอบการทำวิจัย และแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา พิจารณาได้จากเนื้อหาของตัวแปรอิสระหรือตัวแปรที่ใช้ควบคุม และตัวแปรตาม ความสอดคล้องกัน แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สอดคล้องกับความสนใจของผู้วิจัย
    4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (Contribution to Knowledge) เป็นการบอกให้ทราบว่าความรู้ที่ได้จากการวิจัย สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง อาจจะเป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญในการปฏิบัติงาน หรือสร้างองค์ความรู้ในสาขาวิชาที่วิจัย
    5. ขอบเขตของการวิจัย (Scope of Study) เป็นการระบุว่าการวิจัยนั้นจะ ครอบคลุมเนื้อหาอะไร ประชากรที่ต้องการอ้างอิงผลการวิจัย ระยะเวลาการเก็บรวบรวมข้อมูลและตัวแปรที่วิจัย
    6. นิยามศัพท์เฉพาะ (Definition of Terms) ได้แก่ การกำหนดความหมายคำในเชิงปฏิบัติการ (Operational Definitions) ที่ใช้ในการวิจัย

บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

          บทที่ 2 เขียนจากสาระความรู้ที่เราได้ไปศึกษาค้นคว้ามา จากแหล่งความรู้ต่างๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับงานวิจัยของเรา (วิเคราะห์จากคำสำคัญ ตามชื่อวิทยานิพนธ์ของเราเป็นหลัก) รวมทั้งการเขียนให้เชื่อมโยงกับแนวคิด ทฤษฎี และการอ้างอิงงานวิจัยของผู้อื่นที่นำมาประกอบ ต้องเขียนให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกันอย่างกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน เป็นภาษาของเราเอง(ไม่เป็นการคัดลอก ตัดต่อข้อความของผู้อื่นมาเขียนติดต่อกัน หรือยกมาเขียนหมดทั้งตอน) ซึ่งเนื้อหาส่วนนี้จะให้ข้อมูลที่เป็นทฤษฎีแนวคิด หรือความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ทำวิจัยและกล่าวถึงงานวิจัยที่เคยมีผู้ทำไว้เพื่อสนับสนุนการวิจัย

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

          เขียนอธิบาย วิธีดำเนินการวิจัยของเราทุกขั้นตอนเรียงตามลำดับ ตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งเนื้อหาส่วนนี้อธิบายวิธีดำเนินการวิจัยอย่างละเอียดตั้งแต่  วิธีที่ใช้ศึกษา  ลักษณะประชากร การเลือกกลุ่มตัวอย่าง การเลือกเครื่องมือและวิธีการ ความถูกต้องและเชื่อถือได้ของเครื่องมือ วิธีการรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 4 ผลการวิจัย

          บทที่ 4 เขียนผลการวิจัย ตามลำดับของการดำเนินงานทดลองในบทที่ 3 ตามผลที่ปรากฏและเขียนอธิบายผลตามข้อเท็จจริงเป็นการรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดโดยละเอียดอาจนำเสนอด้วยการบรรยายหรือนำเสนอในรูปตาราง กราฟ ภาพ เพื่อให้การตีความหมายข้อมูลชัดเจนยิ่งขึ้น(อาจนำเสนอทั้งในรูปแบบตาราง กราฟ สถิติ และบรรยาย)

บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

          บทที่ 5 เขียนสรุปผลการวิจัย จากบทที่ 4 และเขียนอภิปรายผลการวิจัยอย่างเป็นเหตุเป็นผล โดยอาศัยทั้งภูมิรู้ของผู้วิจัย ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาจากแหล่งความรู้ต่างที่ได้เขียนไว้แล้วในบทที่ 2 รวมทั้งองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นหลังจากที่เราได้ทำการวิจัยสิ้นสุดลงซึ่งอาจจะได้ผลสรุปที่สอดคล้องกับผลงานวิจัยของผู้อื่นที่ได้ทำการศึกษามาก่อนนี้แล้วนำมาประกอบการเขียนอภิปรายผลอย่างมีน้ำหนักให้งานวิจัยของเราเกิดความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการยิ่งขึ้น การเขียนอภิปรายผลจึงเป็นเสมือน ดัชนีชี้วัดความรู้ ความสามารถ และความแตกฉานในงานวิจัยของผู้ที่ได้ศึกษาค้นคว้า ว่ามีความลึกซึ้งมากน้อยเพียงใดกับงานวิจัยของตนเอง รวมทั้ง สามารถให้แนวคิด หรือข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการทำวิจัยอื่นๆ ในอนาคตได้อย่างเหมาะสมต่อไป ซึ่งเป็นการอภิปรายผลที่ในส่วนนี้ผู้วิจัยจะต้องนำประเด็นสำคัญของผลการศึกษามาอภิปรายว่าผลที่ค้นพบ สนับสนุนหรือ  ขัดแย้งกับทฤษฎีหรือตรงกับการศึกษาของผู้อื่นหรือไม่อย่างไร  หรือที่ได้กล่าวไว้ในวรรณกรรมประการใด โดยอ้างอิงทฤษฎี แนวคิดและผลการวิจัยของผู้อื่น หรือข้อมูลประกอบเพื่อยืนยันผลที่ได้รับจากการวิจัยของผู้วิจัย มีการค้นพบใหม่เกิดขึ้นหรือไม่ เมื่ออภิปรายผลจบแล้ว ให้ผู้วิจัยสรุปผลการวิจัยเฉพาะประเด็นสำคัญในดุษฎีนิพนธ์ทั้งหมด

สุดท้ายการจะสำเร็จการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาได้นั้น จะต้องนำเสนอผลงานโดยโปสเตอร์ นำเสนอปากเปล่าและการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ นานาชาติ ด้วย แต่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการจบของหลักสูตรแตกต่างกันไป

#วิทยานิพนธ์ทํายังไง 

Cr.วิทยานิพนธ์ทํายังไง 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น