ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และการเรียบเรียงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (related literature)
หมายถึง เอกสารงานเขียนที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับหัวเรื่อง/
ชื่อเรื่องการวิจัย ที่ผู้วิจัยสนใจ
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอาจมีหลายลักษณะ ได้แก่
• ตำรา
• รายงานประจำปี
• บทความในวารสาร
• ดัชนี
• พจนานุกรม
• รายงานสถิติ
• จุลสาร
วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรม
q อาจเป็นงานวิจัย รายงาน บทความ ตำราวิชาการ
q ช่วยหาประเด็นทำวิจัย แนวคิด กรอบแนวคิดในการวิเคราะห์
q ป้องกันการทำวิจัยซ้ำซ้อน เรื่องที่ได้มีการทำมาแล้ว
q ช่วยชี้พรมแดนความรู้ วิจัยที่จะทำเป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน แง่ใดบ้าง
ทำให้เกิดแนวคิดที่มีทิศทาง
q พัฒนาความคิดภายใน เพื่อออกแบบการศึกษาวิจัย
ประเภทการทบทวนวรรณกรรม
q ทบทวนเชิงศึกษาด้วยตนเอง เพื่อเพิ่มความรู้
q เชิงเนื้อหาสาระ ให้เห็นภาพกว้าง
q เชิงประวิติศาสตร์ แสดงการพัฒนาประเด็นที่ทำวิจัย
q เชิงทฤษฎี เพื่อเปรียบเทียบกับประเด็นปัญหาที่ทำวิจัย
q เชิงวิธีการศึกษา งานแต่ละชิ้นมีวิธีการอย่างไร
q เพื่อสรุปว่า ขณะหนึ่งขณะใดมีอะไรบ้างที่รู้กันแล้ว
ประโยชน์ในการทบทวนวรรณกรรม
q ชี้จุดแข็งจุดอ่อนงานวิจัยอื่นๆ ทั้งเชิงทฤษฎี, เชิงประจักษ์
q ช่วยบ่งชี้ทฤษฏีที่นำมาใช้ หรือ ทดสอบ
q เสนอแนะวิธีการที่จะใช้ในการศึกษา
q อธิบายเทคนิคการเก็บข้อมูล และ เครื่องมือที่ใช้
q มีเทคนิคในการแบ่งประเภท จำแนกข้อมูล
q ชี้แนะการทำตาราง สถิติ กราฟ
q แสดงวิธีตีความผลการวิจัย
q เกิดความคิดในปัญหาที่จะทำวิจัย
q แสดงวิธีการเสนองานวิจัยที่เสร็จสมบูรณ์
q เสนอแนะแหล่งสำหรับพิมพ์ผลงานวิจัย
ประเด็นสำคัญ ๆ จากการทบทวนวรรณกรรม
q ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ปีที่เขียน(ข้อมูลควรครบถ้วนเพื่อเขียนอ้างอิง)
q ปัญหาในการวิจัย หรือ วัตถุประสงค์การวิจัย
q วิธีการศึกษา
q ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
q ข้อมูลที่ใช้ และ วิธีการเก็บข้อมูล
q การวิเคราะห์ข้อมูล
q ผลการวิจัย (ข้อค้นพบ)
q ข้อสรุป เสนอแนะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น