สารนิพนธ์ ต่างจาก วิทยานิพนธ์ อย่างไร
วิทยานิพนธ์
(เข้มข้น) คือ
งานวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยระดับอุดมศึกษา
อันเป็นผลงานจากการค้นคว้าวิจัย
เป็นงานเขียนวิชาการที่นักศึกษาทุกคนโดยเฉพาะในระดับปริญญาโทและเอกต้องจัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการจบการศึกษา
รับปริญญา เพื่อเป็นเกียรติคุณและ เป็นไปเบิกทางในสายอาชีพต่างๆ
ที่ตนเองสนใจในอนาคต
สารนิพนธ์
คือ
การค้นคว้าอิสระ (Independent Study) หมายถึง
การศึกษาวิจัยอิสระ โดยอาศัยการกลั่นกรองความรู้และสาระในเนื้อหาต่างๆ
ที่มีผู้ศึกษาวิจัยไว้แล้ว การค้นคว้าอิสระที่ได้มาจากการอ่าน
การรวบรวมวิเคราะห์ของผู้เขียนแล้วนำมาสรุปผลให้เป็นเรื่องเดียวกัน
สารนิพนธ์ต่างจากวิทยานิพนธ์ ในเรื่องของแนวคิด (concept)
หรือตัวแปร (variable) ตัวเดียว ใช้สถิติหรือการวิเคราะห์อย่างง่าย
และจำกัดบริบทที่ศึกษา ระยะเวลาที่ชัดเจน
แต่จะไม่เข้มข้นเรื่องคุณภาพของความถูกต้อง (validity) และความเชื่อมั่น
(reliability มากกว่า) เท่ากับทางด้านวิทยานิพนธ์
ดังนั้นการตัดสินใจเลือกว่า จะทำสารนิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท
มีปัจจัยสำคัญในการเลือกสารนิพนธ์ ข้อดีคือ ไม่ยุ่งยาก
เป็นการเรียนการสอนของหลักสูตร
แต่ข้อเสียคือนักศึกษาไม่มีประสบการณ์เต็มที่ในการเขียนงานวิจัย
อาจจะไม่สามารถใช้ในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไป
หรืออาจจะมีปัญหาไม่ได้รับการยอมรับ เมื่อเราทำหน้าที่ทางวิชาการ เช่น
อาจารย์ ครู
ในทางตรงกันข้ามกับการเลือกทำวิทยานิพนธ์มีข้อดีคือทำให้นักศึกษามีความรู้
เป็นที่ยอมรับทางวิชาการ
และมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่ตั้งมาตรฐานการสอบคัดเลือก
แต่จะใช้ระยะเวลาสำหรับการศึกษาเกินกว่าหลักสูตรกำหนดเป็นปกติ
การทำงานวิจัยนักศึกษาต้องตั้งโจทย์หรือคำถามการวิจัย
(research question) ให้ถูกต้องเหมาะสม ควรเป็นคำถามที่เฉพาะเจาะจง
เพราะคือการหาคำตอบจากคำถามการวิจัยให้ครบถ้วน
ถ้าตั้งคำถามไม่ชัดเจนหรือมากเกินไป คำตอบก็ไม่ชัดเจนหรือไม่ถูกต้องเช่นกัน
ส่วนเครื่องมือเก็บข้อมูลการวิจัย แบ่งง่ายๆ
เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามซึ่งก็คือมาตรประมาณค่า
(rating scale) และเครื่องมือเก็บเครื่องมือเชิงคุณภาพ
ส่วนใหญ่เป็นแบบสัมภาษณ์ (interview form)
หลักการเขียนโครงการสารนิพนธ์ (สารนิพนธ์ ต่างจาก วิทยานิพนธ์ อย่างไร)
ส่วนแรกจะเป็นการเขียนการคัดเลือกชื่อเรื่อง
ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งชื่อเรื่องต้องใช้คำกะทัดรัด ชัดเจน
ไม่คลุมเครือ และชื่อเรื่องควรสะท้อนหรือชี้ถึงประเด็นปัญหาของการวิจัย
การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
เป็นส่วนของการชี้ให้เห็นที่มาของประเด็นปัญหาหรือข้อคำถามที่จะทำการศึกษาหาคำตอบ
ชี้ให้เห็นว่ามีผู้เสนอแนวคิดหรือทฤษฎีสำหรับตอบคำถามนั้นอย่างไร
– การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย คือ
ส่วนของการวางเป้าหมายที่จะทำการวิจัยไว้ล่วงหน้า กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน
การเขียนใช้ภาษาชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่วกวน ชัดเจน ใช้ประโยคบอกเล่า
ไม่ใช่ประโยคคำถามและปฏิเสธ
– การเขียนขอบเขตการวิจัย คือ
ส่วนของการเขียนระบุว่าพื้นที่ อาณาเขตของงานวิจัยเรื่องนั้นๆ
จะศึกษาภายในขอบเขตกว้างแคบแค่ไหนเพียงไร
เกณฑ์มาตรฐานการเขียนระบุขอบเขตประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่จะใช้ในการศึกษาให้ชัดเจน
ระบุขอบเขตตัวแปรในการวิจัย
ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามที่จำเป็นจะต้องใช้ในการทำงานวิจัย
– กรอบแนวคิดในการวิจัย คือ
ส่วนของการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานการเขียนตัวแปรแต่ละตัวที่เลือกศึกษา
ต้องมีพื้นฐานเชิงทฤษฎีว่า
มีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการศึกษา
ตรงประเด็นในด้านเนื้อหาสาระ รูปแบบสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย
โดยการเขียนปัญหาที่ต้องการทราบหรือต้องการตอบ
คือการเขียนระบุลงไปให้ชัดเจนว่างานวิจัยเรื่องนั้นต้องการตอบปัญหาอะไรเรื่องนั้น
– สมมติฐานการวิจัย คือ
ส่วนของการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานการเขียนเป็นคำตอบปัญหาการวิจัยล่วงหน้าที่ผู้วิจัยคาดคะเนว่าจะเป็นอย่างนั้นและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
เป็นคำตอบล่วงหน้าที่สอดคล้องกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม
เป็นสมมติฐานที่ตั้งขึ้นจากหลักฐานข้อมูลเบื้องต้นและจากแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องซึ่งจะปรากฎในบทถัดไป
– นิยามศัพท์เฉพาะ คือ ส่วนที่ใช้ในการบอกกล่าว
เกณฑ์มาตรฐานการเขียนศัพท์ที่จะนิยามต้องใช้ในความหมายเฉพาะเจาะจงหรือความหมายพิเศษเท่านั้น
ศัพท์ที่จะนิยามควรเป็นคำหลัก (Keyword) ของงานวิจัยเท่านั้น
และต้องนิยามให้ครอบคลุม กำหนดเฉพาะความหมาย
ขอบเขตของพื้นที่ที่ผู้วิจัยใช้ในการดำเนินงานวิจัย
– การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง คือ
ส่วนที่จะทบทวนข้อมูลทุกหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับสารนิพนธ์
จะนำมาทบทวนต้องมีเนื้อหาหรือมีประเด็นการศึกษาเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะดำเนินการศึกษา
เอกสารและงานวิจัยที่จะนำมาทบทวนควรมีมาตรฐานทางวิชาการ
การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนำมาบรรยายให้เห็นข้อมูลพัฒนาการขององค์ความรู้ด้านนั้น
ๆ
– วิธีดำเนินการวิจัย คือ
ส่วนของการกำหนดการชี้แจงรายละเอียดว่า เวลาลงมือทำวิจัยในแต่ละหัวข้อ
เราจะมีข้อมูล วิธีการ
และขั้นตอนการเก็บหลักฐานข้อมูลสำหรับปัญหาการวิจัยอย่างไร
จะใช้เครื่องมืออะไรเก็บข้อมูล เช่น แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก
การสังเกต การสนทนากลุ่ม หรือสถิติแบบใดบ้าง
– ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือ
ส่วนของการเขียนคาดการณ์ล่วงหน้าว่า เมื่อการทำงานวิจัยเรื่องนั้นๆ
สำเร็จแล้วจะมีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นบ้าง กับหน่วยงานใด องค์กร ชุมชนใดบ้าง
บทที่ 4. ผลการวิจัย (Results)
เป็นการรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดโดยละเอียดอาจนำเสนอด้วยการบรรยายหรือนำเสนอในรูปตาราง
กราฟ ภาพ เพื่อให้การตีความหมายข้อมูลชัดเจนยิ่งขึ้น
บทที่ 5. อภิปรายและสรุปผล (Discussion and Conclusion)
หรือสรุปและอภิปรายผล (Conclusion and Discussion)
การอภิปรายผลในส่วนนี้ผู้วิจัยจะต้องนำประเด็นสำคัญของผลการศึกษามาอภิปรายว่าผลที่ค้นพบ
สนับสนุนหรือ
ขัดแย้งกับทฤษฎีหรือตรงกับการศึกษาของผู้อื่นหรือไม่อย่างไร
หรือที่ได้กล่าวไว้ในวรรณกรรมประการใด โดยอ้างอิงทฤษฎี
แนวคิดและผลการวิจัยของผู้อื่น
หรือข้อมูลประกอบเพื่อยืนยันผลที่ได้รับจากการวิจัยของผู้วิจัย
มีการค้นพบใหม่เกิดขึ้นหรือไม่ เมื่ออภิปรายผลจบแล้ว
ให้ผู้วิจัยสรุปผลการวิจัยเฉพาะประเด็นสำคัญในดุษฎีนิพนธ์ทั้งหมด
บรรณานุกรม คือ ส่วนของรายการเอกสารต่าง ๆ
ที่นำมาใช้อ้างอิงหรือประกอบศึกษาค้นคว้าในงานวิจัยแต่ละเรื่อง
จะกำหนดเป็นมาตรฐานต่างๆ ขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบันกำหนดไว้ เช่น APA
ประวัติผู้วิจัย
เป็นส่วนข้อมูลที่แสดงให้ทราบถึงภูมิหลังด้านการศึกษา มีประสบการณ์
มีผลงานทางวิชาการ และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
ที่สอดคล้องกับเรื่องที่จะทำการศึกษาหรือไม่อย่างไร
ซึ่งไม่แปลกสำหรับสถานะนักศึกษานิสิตที่จะมีเพียงข้อมูลเบื้องต้น
การเขียนสารบัญชั่วคราว เป็นการวางโครงสร้างเนื้อหาของงานวิจัยให้เห็นว่าในแต่ละบทมีประเด็นที่จะศึกษาอย่างไรบ้าง
เชิงอรรถ (Footnote) คือ การทำรายการเอกสารอ้างอิงหรือคำอธิบายเพิ่มเติมที่อยู่ด้านล่างของข้อความในหน้ากระดาษแต่ละหน้า
สรุป สารนิพนธ์ ต่างจาก วิทยานิพนธ์ อย่างไรนั้น
หลักการของสารนิพนธ์สารนิพนธ์ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกันต้องมีคุณภาพและมาตรฐานทางวิชาการเช่นเดียวกัน
การจัดกระบวนการเรียนรู้ของรายวิชา สารนิพนธ์ ในหลักสูตรต่างๆ
อาจมีความแตกต่างกันได้ แต่ต้องมุ่งให้บรรลุวัตถุประสงค์
ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
Cr. สารนิพนธ์ ต่างจาก วิทยานิพนธ์ อย่างไร